5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนสั่งพิมพ์บุ๊คเลทหรือหนังสือเล่มเล็ก

ในการสั่งพิมพ์บุ๊คเลทหรือหนังสือเล่มเล็ก มักจะมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ค่อนข้างแตกต่างจากสิ่งพิมพ์ชนิดอื่นๆ เนื่องจากบุ๊คเลทจะมีลักษณะเป็นรูปตัวเล่ม และสามารถใส่ข้อมูลรายละเอียดได้มากกว่าสิ่งพิมพ์ชนิดอื่นๆ เช่น แผ่นพับ ใบปลิว หรือโปสเตอร์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีความแตกต่างเล็กน้อยในส่วนขององค์ประกอบ ซึ่งมักจะสร้างความสับสนให้กับลูกค้าในทุกๆครั้งที่สั่งพิมพ์สิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ยกตัวอย่างเช่น ควรใช้กระดาษชนิดไหนในการพิมพ์ส่วนของตัวปกหน้าและหลัง รวมถึงควรเย็บเล่มอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับความต้องการของเรามากที่สุด

ดังนั้น วันนี้โกโกพริ้นท์ จะมาแนะนำ “5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนสั่งพิมพ์บุ๊คเลทหรือหนังสือเล่มเล็ก” เพื่อให้รูปแบบสิ่งพิมพ์ของคุณตรงตามความต้องการของคุณและสามารถใช้งานได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเราจะแบ่งออกเป็น 5 ข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ขนาดของบุ๊คเลท

1. ขนาดของบุ๊คเลท

โดยทั่วไปแล้ว ในการเลือกขนาดของบุ๊คเลท คุณควรเลือกโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และปริมาณข้อมูลของคุณ สำหรับลูกค้าที่ต้องการบุ๊คเลทที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพื่อต้องการใส่รายละเอียดที่ค่อนข้างมากและไม่ต้องการให้สมุดมีความหนาจนเกินไป ลูกค้าควรเลือกใช้กระดาษที่มีขนาด DIN A4 (ขนาด A4) ซึ่งถือเป็นขนาดมาตรฐานและค่อนข้างใช้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่ต้องการทำหนังสือเล่มเล็กๆ กระทัดรัด พกง่าย และใส่ข้อมูลไม่มาก ก็ควรใช้กระดาษขนาด DIN A6 (10.5 x 14.8 ซม.) ซึ่งมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก ดังนั้นการเลือกขนาดบุ๊คเลทของคุณควรคำนึงถึงการใช้งานและปริมาณข้อมูลที่คุณต้องการจะใส่ในสื่อสิ่งพิมพ์ มิเช่นนั้นจะทำให้สัดส่วนองค์ประกอบภายในบุ๊คเลทของคุณจะไม่มีความสมดุลและไม่มีความเป็นมืออาชีพ

กระดาษส่วนปกและส่วนเนื้อในของบุ๊คเลท

2. กระดาษส่วนปกและส่วนเนื้อใน

ในส่วนของการเลือกกระดาษจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. กระดาษที่จะใช้ในการทำปก โดยกระดาษส่วนนี้ คุณควรเลือกใช้กระดาษที่มีความหนาคงทนและโดดเด่นกว่ากระดาษส่วนเนื้อใน เนื่องจากคือส่วนภายนอกสุดและลูกค้าสามารถมองเห็นเป็นอันดับแรก อีกทั้งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่มีความเป็นมืออาชีพและเพื่อปกป้องส่วนของเนื้อหาภายใน ดังนั้นเราแนะนำกระดาษอาร์ตมันหรือด้าน 260 แกรม เนื่องจากเป็นกระดาษที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการและราคาไม่แพงจนเกินไป 2. ส่วนกระดาษสำหรับพิมพ์เนื้อหา เราแนะนำกระดาษอาร์ต 128 แกรม เพราะเป็นกระดาษที่มีความหนากำลังดี ใช้งานได้ดีและมีราคาถูกที่สุด

สีสันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบุ๊คเลท

3. สีสันสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

การเลือกใช้สีตกแต่งบุ๊คเลทควรตรงตามจุดยืนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น ถ้าแบรนด์ของคุณมีภาพลักษณ์ที่มีความเป็นมืออาชีพและกลุ่มลูกค้าคือกลุ่มธุรกิจ SMEs หรือกลุ่ม B2B ดังนั้นคุณก็ควรเลือกใช้สีที่มีความคุมโทน ไม่โดดเด่นจนเกินไป เช่น สีขาว สีเทา สีน้ำตาล และสีดำ เป็นต้น  อย่างไรก็ตามถ้าแบรนด์ของคุณเน้นเจาะกลุ่มลูกค้า B2C หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์เน้นความสนุกสนาน คุณก็ควรใช้โทนสีที่มีความสดใส เช่น สีชมพู สีฟ้า สีเหลือง เพื่อให้แบรนด์ของคุณดูมีสีสันมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนที่จะสั่งพิมพ์สิ่งพิมพ์ทุกครั้ง อย่าลืมตั้งค่าสีในไฟล์อาร์ตเวิร์คของคุณให้เป็น CMYK เพื่อให้โทนสีตรงตามแบบของคุณ

การเคลือบกระดาษเพิ่มมูลค่าให้กับบุ๊คเลท

4. การเคลือบกระดาษเพิ่มมูลค่า

การเคลือบกระดาษให้มีความมันเงา สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับหนังสือเล่มเล็กของคุณดูแพง หรูหรามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่มีความเป็นมืออาชีพให้กับแบรนด์ของคุณอีกด้วย เนื่องจากลูกค้าจะมองว่าแบรนด์ของคุณมีความพร้อมที่จะลงทุนและเลือกใช้วัสดุที่ดี ดังนั้นสิ่งนี้จะทำให้ลูกค้าเชื่อว่าแบรนด์ของคุณมีความพร้อมที่จะดูแลบริการและเอาใจใส่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม การเคลือบมีอยู่ 2 แบบ คือการเคลือบมัน และการเคลือบเงา ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน

การเย็บเล่มบุ๊คเลท

5. การเย็บเล่ม

ในการเย็บเล่มมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้งานก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปแล้วลูกค้ามักจะเลือกใช้การเย็บมุมหลังคา ซึ่งก็คือการเย็บทั้งกระดาษปกและกระดาษข้างใน โดยจะถูกพับครึ่งแล้วเย็บตรงมุมหลังคาตรงจุดที่พับ การเย็บแบบนี้เหมาะสำหรับบุ๊คเลทที่มีความหนาไม่มาก อย่างไรก็ตาม ถ้าบุ๊คเลทของคุณค่อนข้างหนา ก็ควรเลือกใช้การเย็บแบบเล่มกระดูกงู โดยจะเป็นการเย็บแบบเจาะรู ตรงมุมด้านซ้ายของบุ๊คเลทแล้วใส่ห่วงเพื่อช่วยยึดหนังสือ การเย็บเล่มแบบนี้ คุณควรเผื่อพื้นที่บริเวณด้านข้างอย่างน้อย 1 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลของคุณขาดหายหลังจากทำการเย็บเล่ม

และนี่ก็คือ “5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนสั่งพิมพ์บุ๊คเลทหรือหนังสือเล่มเล็ก” เพื่อให้งานพิมพ์ของคุณออกมาตรงตามความต้องการความที่สุด สำหรับใครที่ต้องการสนใจสั่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ สามารถเข้าไปชมได้ ที่นี่ ติดตามบทความดีๆจากโกโกพริ้นท์ ได้อีกในบทความหน้า